Advertisment |
ในช่วงเดือนที่ผ่านมา ผมทำงานหนักกว่า 16 ชั่วโมงต่อวันโดยที่ไม่ได้รับค่าจ้าง เพื่อเขียนเรื่องที่ดูเหมือนว่าจะไม่มีการพูดถึงในวงกว้าง เป็นเรื่องราวที่ผมแลกมาด้วยการลาออกจากรอยเตอร์ งานที่ผมรักอย่างยิ่งและทำมากว่า 17 ปี เมื่อเรื่องนี้ได้รับการนำเสนอ ผมก็คงเสียโอกาสที่จะเดินทางกลับไปยังประเทศที่ผมชอบมากในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา เพราะว่ามีความเสี่ยงอยู่ ซึ่งแม้จะเล็กน้อย แต่ก็เป็นจริงนั่นก็คือผมจะต้องเสี่ยงต่อการถูกดำเนินคดีตามกฎหมายระหว่างประเทศ และคนจำนวนหนึ่งที่ผมนับถือในฐานะเพื่อนก็อาจจะรู้สึกหวาดหวั่น และอาจจะไม่พูดกับผมอีก
คำถามสำคัญก็คือ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
คำตอบก็คือ -อย่างไม่น่าเชื่อ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ในศตวรรษที่ 21 นี่คือราคาที่ต้องจ่ายเมื่อคุณพยายามที่จะพูดความจริงเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศที่ทันสมัยและเปิดกว้างอย่างประเทศไทย
ประเทศไทยอ้างตัวว่าเป็นประชาธิปไตย และจะมีการเลือกตั้งในวันที่ 3 ก.ค. ที่จะถึงนี้ ประเทศไทยอ้างว่าปกครองในระบอบ กษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy), ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งมีพระชนมายุ 83 พรรษา ทรงเป็นที่รักยิ่งของประชาชน ไม่ทรงมีบทบาทในทางการเมือง แต่ทรงเป็นผู้ชี้แนะทางศีลธรรมจรรยา
ไม่เป็นที่สงสัยเลยถึงความเคารพรักเทิดทูนที่ประชาชนไทยมีต่อกษัตริย์ของพวกเขา แต่เรื่องเศร้าของประเทศไทยก็คือว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาในช่วงประวัติศาสตร์สมัยใหม่ นายทหารและข้าราชบริพารได้บ่อนทำลายประชาธิปไตยโดยอ้างว่ากระทำการในนามของราชสำนัก
ประเทศไทยนั้นถอยหลังเข้าสู่ลัทธิเผด็จการและการกดขี่ และเครื่องบ่งชี้อย่างตายตัวก็คือ แม้แต่การพูดถึงอุดมการณ์ชนิดนี้ก็ผิดกฎหมายแล้ว
ไทยเป็นประเทศที่มีกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพรุนแรงที่สุดในโลก การหมิ่นประมาทใดๆ ต่อพระมหากษัตริย์ พระราชินิ หรือองค์รัชทายาท มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ถึง 15 ปี การใช้กฎหมายดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการรัฐประหาร 2549 นักวิชาการและสื่อมวลชนที่ได้รับการยอมรับจำนวนหนึ่งถูกฟ้องร้องด้วยกฎหมายนี้ ใจ อึ๊งภากรณ์ นักวิชาการสัญชาติไทย-อังกฤษ ก็อยู่ระหว่างลี้ภัยในลอนดอนเนื่องจากถูกกล่าวหาว่า หมิ่นประมาทราชสำนัก
ผมอาศัยอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2543 ในฐานะหัวหน้าฝ่ายข่าวของรอยเตอร์ สำนักงานสาขากรุงเทพฯ ผมตกหลุมรักในความงามของวัฒนธรรม และวิถีชีวิตอันเปี่ยมสุขและอบอุ่นของผู้คนอย่างรวดเร็ว ที่นี่ดูไม่เหมือนประเทศที่ตกอยู่ภายใต้การกดขี่ ทว่าสิ่งที่เห็นนั้นต่างจากสิ่งที่เป็น เรื่องบอกเล่าอย่างเป็นทางการว่าที่นี่คือ “ดินแดนแห่งรอยยิ้ม” คือเทพนิยาย ประเทศไทยคือประเทศแห่งความลับ
คนไทยจำนวนมากวาดภาพ XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX ไปในทางหวาดกลัว ส่วน XXX XXXXXX ดูเหมือนว่าจะมีระยะห่างกับประชาชนมากกว่าพระเจ้าอยู่หัวฯ และคนจำนวนหนึ่งก็เข้าใจว่า มีความเห็นอกเห็นใจฝ่ายขวาสุดโต่ง “เสื้อเหลือง” ซึ่งยึดสนามบินเมื่อปี 2551 และไม่ว่าอย่างไรก็ถูกใช้เป็นข้ออ้างต่อการโค่นรัฐบาลขณะนั้น กองทัพนั้นก็ใช้กฎหมายจัดการอย่างต่อเนื่องกับการวิพากษ์วิจารณ์บทบาทอันร้ายกาจของตนที่บ่อนทำลายประชาธิปไตย
สื่อมวลชนภายในประเทศไม่สามารถรายงานสิ่งเหล่านี้ได้เลย และสื่อต่างประเทศก็เซนเซอร์ตัวเองอย่างชัดแจ้ง สื่อมวลชนจำนวนมากหันมาใช้วิธีบอกเป็นนัยๆ เมื่อต้องนำเสนอประเด็นเกี่ยวกับประเทศไทย เช่นประวิตร โรจนพฤกษ์ หนึ่งในผู้สื่อข่าวที่ดีที่สุดคนหนึ่งของไทยเขียนในรายงานของเขาเดือนนี้ โดยใช้คำว่า “มือที่มองไม่เห็น”, “อำนาจพิเศษ”, “อำนาจที่ปฏิเสธไม่ได้” ถ้อยคำเหล่านี้ถูกเอ่ยอ้างโดยประชาชน สื่อ และนักการเมืองบ่อยขึ้นในช่วงเวลาไม่นานมานี้ เมื่อพวกเขาอภิปรายเกี่ยวกับการเมืองไทย และการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น
3 เดือนที่แล้ว ผมมีโอกาสเข้าถึง “ช่องทาง” ข้อมูลลับของทางการสหรัฐ ที่พลทหารแบรดลีย์ แมนนิง ดาวโหลดเก็บไว้ระหว่างที่ประจำการอยู่ในอิรัก มีเอกสารมากกว่า 3,000 ฉบับที่เกี่ยวกับประเทศไทย สิ่งที่แตกต่างจากการรายงานส่วนใหญ่ในบรรดาข่าวเกี่ยวกับประเทศแห่งนี้ก็คือ ในเอกสารลับเหล่านั้น ไม่พูดอ้อมค้อมเมื่อกล่าวถึงสถาบันกษัตริย์ เมื่อผมได้อ่าน ผมก็ได้ตระหนัก 2 ประการคือ เอกสารเหล่านี่จะช่วยปฏิวัติความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศไทย และประการที่สองคือ ผมไม่มีทางที่จะเขียนถึงเรื่องเหล่านี้ได้หากอยู่ในฐานะผู้สื่อข่าวของรอยเตอร์
รอยเตอร์จ้างพนักงานชาวไทยมากกว่า 1,000 คน ความเสี่ยงที่จะเกิดกับพวกเขาเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ในระยะเวลา 17 ปีที่ผมทำงานกับรอยเตอร์ ผมได้พบกับความขัดแย้งหลายอย่าง ผมใช้เวลา 2 ปีในแบกแดดในตำแหน่งหัวหน้าสำนักสาขา ขณะที่อิรักตกอยู่ในสถานการณ์สงครามกลางเมือง เพื่อนร่วมงานหลายคนถูกฆ่าตาย ผมภูมิใจเสมอมาที่ได้ทำงานให้รอยเตอร์ และเมื่อผมได้รับคำอธิบายว่างานของผมตีพิมพ์ไม่ได้ ผมก็เข้าใจ
แต่ผมก็ไม่สามารถจะเลิกล้มหรือเพิกเฉยต่อความจริงเกี่ยวกับประเทศไทย ประชาชนไทยสมควรที่จะมีสิทธิรับรู้ข้อมูลอย่างครบถ้วน เพื่อการถกเถียงเกี่ยวกับอนาคตของพวกเขาเองโดยปราศจากความกลัว ผมลาออกจากรอยเตอร์ด้วยความเสียใจอย่างสุดซึ้ง เมื่อผมเริ่มเผยแพร่บทความของผมเพื่อใครก็ได้ที่ต้องการอ่าน
วันนี้ ผมได้ทำแล้ว ผมกลายเป็นอาชญากรแล้วในประเทศไทย เสียใจอย่างที่สุดที่ผมไม่อาจกลับไปยังประเทศที่น่าอัศจรรย์เช่นนั้นได้อีก แต่ผมจะเสียใจยิ่งกว่าหากว่ามีโอกาสที่จะบอกความจริงแล้วกลับล้มเหลวที่จะใช้โอกาสนั้น มันคือหน้าที่ของสื่อมวลชน และหน้าที่ของมนุษย์ที่จะทำให้ดียิ่งกว่า และนั่นคือเหตุผลที่ผมเผยแพร่ผลงานของตนเอง
คำถามสำคัญก็คือ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
คำตอบก็คือ -อย่างไม่น่าเชื่อ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ในศตวรรษที่ 21 นี่คือราคาที่ต้องจ่ายเมื่อคุณพยายามที่จะพูดความจริงเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศที่ทันสมัยและเปิดกว้างอย่างประเทศไทย
ประเทศไทยอ้างตัวว่าเป็นประชาธิปไตย และจะมีการเลือกตั้งในวันที่ 3 ก.ค. ที่จะถึงนี้ ประเทศไทยอ้างว่าปกครองในระบอบ กษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy), ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งมีพระชนมายุ 83 พรรษา ทรงเป็นที่รักยิ่งของประชาชน ไม่ทรงมีบทบาทในทางการเมือง แต่ทรงเป็นผู้ชี้แนะทางศีลธรรมจรรยา
ไม่เป็นที่สงสัยเลยถึงความเคารพรักเทิดทูนที่ประชาชนไทยมีต่อกษัตริย์ของพวกเขา แต่เรื่องเศร้าของประเทศไทยก็คือว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาในช่วงประวัติศาสตร์สมัยใหม่ นายทหารและข้าราชบริพารได้บ่อนทำลายประชาธิปไตยโดยอ้างว่ากระทำการในนามของราชสำนัก
ประเทศไทยนั้นถอยหลังเข้าสู่ลัทธิเผด็จการและการกดขี่ และเครื่องบ่งชี้อย่างตายตัวก็คือ แม้แต่การพูดถึงอุดมการณ์ชนิดนี้ก็ผิดกฎหมายแล้ว
ไทยเป็นประเทศที่มีกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพรุนแรงที่สุดในโลก การหมิ่นประมาทใดๆ ต่อพระมหากษัตริย์ พระราชินิ หรือองค์รัชทายาท มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ถึง 15 ปี การใช้กฎหมายดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการรัฐประหาร 2549 นักวิชาการและสื่อมวลชนที่ได้รับการยอมรับจำนวนหนึ่งถูกฟ้องร้องด้วยกฎหมายนี้ ใจ อึ๊งภากรณ์ นักวิชาการสัญชาติไทย-อังกฤษ ก็อยู่ระหว่างลี้ภัยในลอนดอนเนื่องจากถูกกล่าวหาว่า หมิ่นประมาทราชสำนัก
ผมอาศัยอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2543 ในฐานะหัวหน้าฝ่ายข่าวของรอยเตอร์ สำนักงานสาขากรุงเทพฯ ผมตกหลุมรักในความงามของวัฒนธรรม และวิถีชีวิตอันเปี่ยมสุขและอบอุ่นของผู้คนอย่างรวดเร็ว ที่นี่ดูไม่เหมือนประเทศที่ตกอยู่ภายใต้การกดขี่ ทว่าสิ่งที่เห็นนั้นต่างจากสิ่งที่เป็น เรื่องบอกเล่าอย่างเป็นทางการว่าที่นี่คือ “ดินแดนแห่งรอยยิ้ม” คือเทพนิยาย ประเทศไทยคือประเทศแห่งความลับ
คนไทยจำนวนมากวาดภาพ XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX ไปในทางหวาดกลัว ส่วน XXX XXXXXX ดูเหมือนว่าจะมีระยะห่างกับประชาชนมากกว่าพระเจ้าอยู่หัวฯ และคนจำนวนหนึ่งก็เข้าใจว่า มีความเห็นอกเห็นใจฝ่ายขวาสุดโต่ง “เสื้อเหลือง” ซึ่งยึดสนามบินเมื่อปี 2551 และไม่ว่าอย่างไรก็ถูกใช้เป็นข้ออ้างต่อการโค่นรัฐบาลขณะนั้น กองทัพนั้นก็ใช้กฎหมายจัดการอย่างต่อเนื่องกับการวิพากษ์วิจารณ์บทบาทอันร้ายกาจของตนที่บ่อนทำลายประชาธิปไตย
สื่อมวลชนภายในประเทศไม่สามารถรายงานสิ่งเหล่านี้ได้เลย และสื่อต่างประเทศก็เซนเซอร์ตัวเองอย่างชัดแจ้ง สื่อมวลชนจำนวนมากหันมาใช้วิธีบอกเป็นนัยๆ เมื่อต้องนำเสนอประเด็นเกี่ยวกับประเทศไทย เช่นประวิตร โรจนพฤกษ์ หนึ่งในผู้สื่อข่าวที่ดีที่สุดคนหนึ่งของไทยเขียนในรายงานของเขาเดือนนี้ โดยใช้คำว่า “มือที่มองไม่เห็น”, “อำนาจพิเศษ”, “อำนาจที่ปฏิเสธไม่ได้” ถ้อยคำเหล่านี้ถูกเอ่ยอ้างโดยประชาชน สื่อ และนักการเมืองบ่อยขึ้นในช่วงเวลาไม่นานมานี้ เมื่อพวกเขาอภิปรายเกี่ยวกับการเมืองไทย และการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น
3 เดือนที่แล้ว ผมมีโอกาสเข้าถึง “ช่องทาง” ข้อมูลลับของทางการสหรัฐ ที่พลทหารแบรดลีย์ แมนนิง ดาวโหลดเก็บไว้ระหว่างที่ประจำการอยู่ในอิรัก มีเอกสารมากกว่า 3,000 ฉบับที่เกี่ยวกับประเทศไทย สิ่งที่แตกต่างจากการรายงานส่วนใหญ่ในบรรดาข่าวเกี่ยวกับประเทศแห่งนี้ก็คือ ในเอกสารลับเหล่านั้น ไม่พูดอ้อมค้อมเมื่อกล่าวถึงสถาบันกษัตริย์ เมื่อผมได้อ่าน ผมก็ได้ตระหนัก 2 ประการคือ เอกสารเหล่านี่จะช่วยปฏิวัติความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศไทย และประการที่สองคือ ผมไม่มีทางที่จะเขียนถึงเรื่องเหล่านี้ได้หากอยู่ในฐานะผู้สื่อข่าวของรอยเตอร์
รอยเตอร์จ้างพนักงานชาวไทยมากกว่า 1,000 คน ความเสี่ยงที่จะเกิดกับพวกเขาเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ในระยะเวลา 17 ปีที่ผมทำงานกับรอยเตอร์ ผมได้พบกับความขัดแย้งหลายอย่าง ผมใช้เวลา 2 ปีในแบกแดดในตำแหน่งหัวหน้าสำนักสาขา ขณะที่อิรักตกอยู่ในสถานการณ์สงครามกลางเมือง เพื่อนร่วมงานหลายคนถูกฆ่าตาย ผมภูมิใจเสมอมาที่ได้ทำงานให้รอยเตอร์ และเมื่อผมได้รับคำอธิบายว่างานของผมตีพิมพ์ไม่ได้ ผมก็เข้าใจ
แต่ผมก็ไม่สามารถจะเลิกล้มหรือเพิกเฉยต่อความจริงเกี่ยวกับประเทศไทย ประชาชนไทยสมควรที่จะมีสิทธิรับรู้ข้อมูลอย่างครบถ้วน เพื่อการถกเถียงเกี่ยวกับอนาคตของพวกเขาเองโดยปราศจากความกลัว ผมลาออกจากรอยเตอร์ด้วยความเสียใจอย่างสุดซึ้ง เมื่อผมเริ่มเผยแพร่บทความของผมเพื่อใครก็ได้ที่ต้องการอ่าน
วันนี้ ผมได้ทำแล้ว ผมกลายเป็นอาชญากรแล้วในประเทศไทย เสียใจอย่างที่สุดที่ผมไม่อาจกลับไปยังประเทศที่น่าอัศจรรย์เช่นนั้นได้อีก แต่ผมจะเสียใจยิ่งกว่าหากว่ามีโอกาสที่จะบอกความจริงแล้วกลับล้มเหลวที่จะใช้โอกาสนั้น มันคือหน้าที่ของสื่อมวลชน และหน้าที่ของมนุษย์ที่จะทำให้ดียิ่งกว่า และนั่นคือเหตุผลที่ผมเผยแพร่ผลงานของตนเอง